Table of Content:
ทุกวันนี้ น้ำที่เราดื่มอาจไม่ได้สะอาดปลอดภัยอย่างที่คิด เพราะมีภัยเงียบแฝงตัวอยู่ นั่นคือ ไมโครพลาสติก (Microplastics) อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กจิ๋วที่ปนเปื้อนอยู่ในแหล่งน้ำทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นน้ำประปา น้ำบรรจุขวด หรือแม้แต่น้ำจากธรรมชาติ ไมโครพลาสติกเหล่านี้สามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านการดื่มน้ำโดยไม่รู้ตัว และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพในระยะยาวได้
ไมโครพลาสติกคืออะไร ?
ไมโครพลาสติก (Microplastics) คือ อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า 5 มิลลิเมตร เกิดจากการย่อยสลายหรือแตกหักของขยะพลาสติกขนาดใหญ่ หรือถูกผลิตให้มีขนาดเล็กเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ มีรูปร่างหลากหลาย เช่น ทรงกลม ทรงรี เส้นตรง หรือรูปร่างไม่แน่นอน แบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลัก ได้แก่
- ไมโครพลาสติกปฐมภูมิ (Primary Microplastics) พลาสติกที่ผลิตให้มีขนาดเล็กกว่า 5 มิลลิเมตร เพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เฉพาะ เช่น เม็ดพลาสติกที่ใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก หรือเม็ดสครับในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้า
- ไมโครพลาสติกทุติยภูมิ (Secondary Microplastics) พลาสติกที่เกิดจากการสลายตัวของพลาสติกขนาดใหญ่ผ่านกระบวนการต่าง ๆ เช่น การย่อยสลายทางกลหรือทางเคมี จนกลายเป็นชิ้นส่วนเล็ก ๆ
แหล่งที่พบไมโครพลาสติก
- น้ำทะเล แม่น้ำ ทะเลสาบ และแหล่งน้ำจืดที่มีการสะสมของขยะพลาสติก
- อากาศและฝุ่นละออง ส่วนใหญ่เกิดจากการเผาขยะพลาสติกหรือกิจกรรมอุตสาหกรรม
- อาหาร เครื่องดื่ม ที่อาจมาจากท่อน้ำ ภาชนะบรรจุ หรือสัตว์ที่กินไมโครพลาสติกเข้าไป
- ดินและพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีและพลาสติกคลุมดินเป็นประจำ
อันตรายจากไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม
จากความหมายและแหล่งที่มาที่เราพูดถึงในข้างต้น แสดงให้เห็นว่าพลาสติกขนาดจิ๋วเหล่านี้อยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด โดยเฉพาะในน้ำดื่ม ส่งผลให้เราอาจได้รับอนุภาคพลาสติกเข้าสู่ร่างกายโดยไม่รู้ตัว และหากสะสมในปริมาณมากย่อมส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว ทั้งยังอาจไปกระตุ้นให้เกิดโรคร้ายแรงได้อีกด้วย
1. รบกวนการทำงานของฮอร์โมนและต่อมไร้ท่อ
พลาสติกบางชนิดมีสารก่อกวนฮอร์โมน เช่น BPA และพทาเลต ซึ่งสามารถรบกวนการทำงานของฮอร์โมนเอสโตรเจนและเทสโทสเตอโรน ส่งผลต่อระบบสืบพันธุ์ ทำให้เสี่ยงต่อภาวะมีบุตรยากมากขึ้น และอาจกระตุ้นให้เกิดโรคที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมน เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน
2. ส่งผลกระทบต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
นอกจากฮอร์โมนแล้ว พลาสติกยังเป็นอันตรายต่อระบบอื่น ๆ ในร่างกาย และเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพหลายประการ ที่พบโดยทั่วไป ได้แก่
- ระบบภูมิคุ้มกัน : ทำให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง ซึ่งอาจนำไปสู่ปัญหาสุขภาพ เช่น ภูมิแพ้ อาการอักเสบตามอวัยวะ และโรคแพ้ภูมิตัวเอง
- ระบบทางเดินหายใจ : หากสูดดมเข้าไปจำนวนมาก อาจก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจเรื้อรัง เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง โรคหืด และอาการไอเรื้อรัง
- ระบบสืบพันธุ์ : ลดคุณภาพของอสุจิในเพศชาย และส่งผลต่อการตกไข่และการฝังตัวของตัวอ่อนในเพศหญิง ทำให้ระบบสืบพันธุ์ผิดปกติ นำไปสู่การเกิดภาวะมีบุตรยาก
3. เพิ่มความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็ง
ไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม เป็นพาหะของโลหะหนักและสารก่อมะเร็ง เช่น ตะกั่ว ปรอท และแคดเมียม หากร่างกายได้รับในปริมาณมากอาจกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาออกซิเดชัน (Oxidative Stress) ซึ่งเป็นสาเหตุของการเสื่อมสภาพของเซลล์และเพิ่มความเสี่ยงของมะเร็งบางชนิด
4. ขัดขวางการทำงานของเส้นเลือด
เนื่องจากพลาสติกประเภทนี้มีขนาดเล็กมาก จึงสามารถเข้าสู่กระแสเลือดและสะสมในหลอดเลือดได้ ทำให้เกิดการอักเสบภายในร่างกาย จึงเพิ่มอัตราการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดสมองได้อย่างมีนัยสำคัญ
5. มีผลเสียต่อพัฒนาการเด็ก
อนุภาคพลาสติกขนาดเล็กสามารถแทรกซึมผ่านรกของมารดาและส่งผลต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะออทิสติกและสมาธิสั้น (ADHD) มากขึ้น นอกจากนี้ ยังส่งผลต่อพัฒนาการด้านสมอง ความจำ และระบบประสาทของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ปีด้วย

วิธีป้องกันไมโครพลาสติกตกค้างในร่างกายจากการดื่มน้ำ
ได้เห็นถึงผลเสียของการได้รับไมโครพลาสติกในน้ำดื่ม ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในระยะยาวกันไปแล้ว ดังนั้น การป้องกันและลดปริมาณพลาสติกที่เข้าสู่ร่างกายจึงเป็นสิ่งสำคัญ ซึ่งสามารถทำได้ผ่านวิธีต่อไปนี้
1. การต้มน้ำให้เดือดแล้วกรองก่อนดื่ม
การต้มน้ำให้เดือดเป็นหนึ่งในวิธีพื้นฐานที่ช่วยกำจัดสิ่งปนเปื้อนบางชนิดในน้ำได้ โดยเฉพาะแบคทีเรียและไวรัส แต่หากต้องการกำจัดพลาสติก ควรใช้การกรองด้วยวิธีต่าง ๆ ร่วมด้วย เช่น การใช้กระดาษกรอง การใช้ตัวกรองที่ดักจับอนุภาคขนาดเล็กได้
2. หลีกเลี่ยงการดื่มน้ำจากขวดพลาสติก
ขวดพลาสติกเป็นแหล่งปนเปื้อนที่สำคัญ เนื่องจากพลาสติกสามารถเสื่อมสภาพและปล่อยอนุภาคขนาดเล็กลงสู่น้ำดื่มได้ โดยเฉพาะเมื่อสัมผัสกับความร้อนหรือถูกเก็บไว้เป็นเวลานาน ควรเลือกดื่มน้ำจาก ขวดแก้วหรือขวดสเตนเลส ที่สามารถนำกลับมาใช้ซ้ำได้ก็จะปลอดภัยกว่า
3. เลือกใช้เครื่องกรองน้ำที่ไส้กรองมีความละเอียดสูง
หนึ่งในวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการกำจัดไมโครพลาสติกออกจากน้ำดื่ม คือการใช้ เครื่องกรองน้ำที่มีไส้กรองละเอียดสูง ซึ่งสามารถกรองอนุภาคขนาดเล็กออกไปได้ เช่น เครื่องกรองน้ำระบบ RO เครื่องกรองน้ำระบบ UF
ได้รู้แล้วว่าไมโครพลาสติกในน้ำดื่มอาจก่อให้เกิดสารพิษสะสม และส่งผลเสียต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย มาเลือกใช้เครื่องกรองน้ำอัจฉริยะจาก Wells ช่วยกรองน้ำดื่มให้สะอาด ดื่มได้อย่างปลอดภัย มาพร้อมหน้าจอสัมผัสที่ช่วยให้คุณควบคุมอุณหภูมิและปริมาณน้ำได้สะดวก ดีไซน์ทันสมัย ตอบโจทย์ทั้งความสวยงามและฟังก์ชันการใช้งานในเครื่องเดียว
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
- LINE OA: @wellsthailand หรือ https://bit.ly/36pYHXp
- เบอร์โทรศัพท์: 082-826-4999
- อีเมล: info@wellsthailand.com
ข้อมูลอ้างอิง:
- ไมโครพลาสติก (microplastic) คืออะไร?. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/672//
- ไมโครพลาสติก : ผลกระทบต่อสุขภาพของมนุษย์. สืบค้นเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 จาก https://petromat.org/home/microplastics-human-health-impacts/