ไขข้อสงสัย น้ำประปาไทยดื่มได้จริงไหม? ปลอดภัยจริงหรือเปล่า

เทน้ำดื่มบริสุทธิ์ที่ผ่านการกรองลงในแก้วสำหรับดื่ม

ไขข้อสงสัย น้ำประปาไทยดื่มได้จริงไหม? ปลอดภัยจริงหรือเปล่า

เทน้ำดื่มบริสุทธิ์ที่ผ่านการกรองลงในแก้วสำหรับดื่ม

Table of Content:

 ‘น้ำ’ ถือเป็นหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของชีวิต เพราะนอกจากร่างกายของเราจะประกอบไปด้วยน้ำมากถึง 70% การดื่มน้ำที่สะอาดผ่านเครื่องกรองน้ำ ประหยัดพื้นที่ยังช่วยให้ระบบต่าง ๆ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย

โดยทั่วไป น้ำมีอยู่ด้วยกัน 2 ประเภทคือ น้ำที่ใช้อุปโภคและใช้สำหรับการบริโภค ซึ่งสำหรับน้ำประปาไทย หลายคนก็ไม่แนะนำให้ดื่มจากก๊อกทันที เนื่องจากยังกังวลว่าอาจมีสารปนเปื้อนหรือคุณภาพไม่เพียงพอสำหรับการดื่ม 

น้ำประปาไทยดื่มได้จริงหรือไม่ แล้วทำไมหลายคนถึงบอกว่าน้ำประปาไทยดื่มไม่ได้ วันนี้เราจะมาเฉลยทุกข้อสงสัยที่คุณอยากรู้ พร้อมแนะนำปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมและเทคนิคการดื่มน้ำให้ดีต่อร่างกายมากที่สุด ติดตามกันเลย

ไขข้อสงสัย ทําไมน้ำประปาไทย ดื่มไม่ได้?

การที่เราไม่ควรดื่มน้ำประปาไทย สาเหตุหลัก ๆ มาจากข้อจำกัดด้านมาตรฐานในการกรองที่ยังมีปัญหาอยู่หลายอย่าง ทำให้แม้จะผ่านการกรองมาจากต้นทาง ก็ยังเต็มไปด้วยสิ่งปนเปื้อน เช่น แบคทีเรีย คลอรีน โลหะหนัก ฯลฯ

1. มาตรฐานน้ำประปา

 มาตรฐานน้ำประปาไทยยังมีค่ามาตรฐานบางตัวที่เข้มงวดน้อยกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น ค่าคลอรีน สารหนู โลหะหนัก ในการบริโภคจึงแนะนำให้ใช้เครื่องกรองน้ำกรองให้สารต่าง ๆ เหล่านี้ออกไป เพื่อให้สามารถใช้อุปโภคได้อย่างปลอดภัย

2. ระบบท่อส่งน้ำ

 ท่อส่งน้ำประปาในประเทศไทยมีอายุการใช้งานมานาน หลายท่อมีรอยรั่ว สนิม ตะกอนสะสม ส่งผลให้คุณภาพน้ำยังไม่ได้มาตรฐาน

 3. แรงดันน้ำ

 แรงดันน้ำที่ไม่เพียงพอ ทำให้สิ่งปนเปื้อนจากภายนอกสามารถไหลย้อนกลับเข้าสู่ระบบท่อส่งน้ำได้

รู้หรือไม่ ดื่มน้ำเยอะเกินไปก็ไม่ดีต่อร่างกายเช่นกัน

ได้รู้กันไปแล้วว่าทําไมน้ำประปาไทย ยังดื่มไม่ได้ แต่ควรผ่านการกรองให้น้ำสะอาดบริสุทธิ์เสียก่อน แต่นอกจากการดื่มน้ำที่ไม่สะอาดแล้ว รู้หรือไม่ว่าการดื่มน้ำมากกว่าที่ร่างกายต้องการ หรือดื่มมากเกินไปในระยะเวลาสั้น ๆ ก็อาจส่งผลเสียต่อร่างกายจนทำให้เกิด “ภาวะน้ำเป็นพิษ (Hyponatremia)” ได้

ทั้งนี้ อาการของภาวะน้ำเป็นพิษ จะมีตั้งแต่อาการอ่อนเพลีย ปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน กล้ามเนื้ออ่อนแรง ชักหมดสติ อีกทั้งยังอาจทำให้เกิดผลกระทบต่อร่างกายร้ายแรงถึงขั้นสมองบวม ระดับอิเล็กโทรไลต์ในเลือดต่ำ หัวใจเต้นผิดจังหวะ จนถึงขั้นเสียชีวิตได้

ดื่มน้ำเท่าไรจึงพอดี? ปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมใน 1 วัน

ปริมาณการดื่มน้ำที่เหมาะสมของแต่ละคนขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่าง

  • เพศ: โดยทั่วไป ผู้ชายมีความต้องการดื่มน้ำในปริมาณมากกว่าผู้หญิง
  • วัย: เด็กและวัยรุ่นต้องการน้ำปริมาณน้อยกว่าผู้ใหญ่
  • สุขภาพ: ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคไต โรคหัวใจ อาจต้องจำกัดปริมาณการดื่มน้ำ
  • กิจกรรม: ผู้ที่ออกกำลังกายหรือทำงานหนักซึ่งสูญเสียน้ำมาก ควรดื่มน้ำเพิ่ม

ทั้งนี้ โดยเฉลี่ยแล้ว ผู้ใหญ่ควรดื่มน้ำประมาณ 2.7-3.7 ลิตร หรือ 8-10 แก้วต่อวัน อย่างไรก็ดี หากได้รับน้ำไม่เพียงพอ ร่างกายก็อาจส่งสัญญาณเตือนผ่านการมีปัสสาวะสีเหลืองเข้ม ความรู้สึกกระหาย หรือการเกิดภาวะปากแห้ง 

วิธีดื่มน้ำให้ได้ประโยชน์มากที่สุด

โดยทั่วไป หลักการสำคัญในการดื่มน้ำให้ได้ประโยชน์มากที่สุด คือ ดื่มน้ำให้เพียงพอกับร่างกาย และเลือกดื่มน้ำที่สะอาดปลอดภัย ที่สำคัญควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมตลอดทั้งวัน ตั้งแต่ตื่นนอนไปจนถึงเข้านอน

1. ดื่มหลังตื่นนอน

การดื่มน้ำหลังตื่นนอนจะช่วยให้ร่างกายได้รับน้ำหลังจากนอนหลับมาทั้งคืน กระตุ้นระบบเผาผลาญ ช่วยให้รู้สึกสดชื่น

2. ดื่มก่อนทานอาหาร

การดื่มน้ำก่อนรับประทานอาหารเป็นวิธีควบคุมน้ำหนัก ช่วยให้อิ่มเร็ว ทานอาหารได้น้อยลง อย่างไรก็ดี ไม่ควรดื่มมากจนเกินไป เพราะอาจทำให้ท้องอืดและอาหารไม่ย่อยได้ 

3. ดื่มหลังมื้ออาหาร

การดื่มน้ำหลังมื้ออาหารจะช่วยให้ย่อยอาหารได้ดีขึ้น ทั้งนี้ แนะนำให้ดื่มน้ำอุณหภูมิห้องและไม่ดื่มน้ำเย็นจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดอาการท้องอืดไม่สบายตัว

 4. ดื่มช่วงบ่ายเพื่อเรียกความสดชื่น

การดื่มน้ำช่วงบ่ายจะช่วยเพิ่มระดับน้ำในร่างกาย กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิต ลดภาวะขาดน้ำซึ่งเป็นสาเหตุของความง่วง อ่อนเพลีย ช่วยให้ร่างกายรู้สึกตื่นตัว และสมองทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

5. ดื่มเมื่อเริ่มรู้สึกปวดหัว

หากร่างกายขาดน้ำ อาจส่งผลต่อสมองทำให้เกิดอาการปวดหัว การดื่มน้ำจึงเป็นการช่วยเพิ่มระดับน้ำในร่างกาย ชดเชยน้ำที่สูญเสียไป ทำให้บรรเทาอาการปวดหัวได้ ทั้งนี้ อาการปวดหัวอาจเกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ หากมีอาการปวดหัวเรื้อรัง รุนแรง หรือมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น อาเจียน คลื่นไส้ ตาพร่ามัว ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุและรับการรักษาทันที

6. ดื่มน้ำก่อนและหลังออกกำลังกาย

เมื่อออกกำลังกาย ร่างกายจะขับเหงื่อเพื่อระบายความร้อน การดื่มน้ำจึงเป็นการช่วยชดเชยน้ำที่สูญเสียไปและช่วยให้กล้ามเนื้อทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้อาจดื่มน้ำ 2-3 แก้วก่อนออกกำลังกาย 30 นาที โดยจิบน้ำ 1-2 อึก ทุก ๆ 10-15 นาที ระหว่างออกกำลังกาย และดื่มน้ำ 1-2 แก้วหลังออกกำลังกาย ก็จะช่วยป้องกันภาวะขาดน้ำที่อาจทําให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เกิดตะคริว หรือเวียนหัวได้  

7. จิบน้ำก่อนเข้านอน

การจิบน้ำก่อนเข้านอนเป็นวิธีป้องกันอาการคอแห้งที่เกิดจากการนอนหลับเป็นเวลานาน อีกทั้งน้ำยังช่วยลดอุณหภูมิร่างกาย ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายมากขึ้นด้วย อย่างไรก็ดี ควรจิบน้ำเพียงเล็กน้อย เพื่อไม่ให้ปัสสาวะบ่อยจนรบกวนการนอนหลับ

ผู้หญิงกำลังถือแก้วและค่อย ๆ ดื่มน้ำสะอาด

สำหรับคนที่สงสัยว่าทำไมน้ำประปาไทยถึงดื่มไม่ได้ คงจะได้คำตอบกันไปแล้ว รวมถึงได้รู้ข้อมูลดี ๆ ของการดื่มน้ำให้ได้ประโยชน์สูงสุดที่สามารถนำไปปรับใช้กันได้ อย่างไรก็ดี นอกจากการดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามก็คือการดื่มน้ำสะอาดทุกวัน หากใครกำลังมองหาตัวช่วยในการดื่มน้ำสะอาด Wells แบรนด์เครื่องกรองน้ำแบบกะทัดรัด ประหยัดพื้นที่จากประเทศเกาหลีถือเป็นตัวเลือกที่ตอบโจทย์ เพราะนอกจากจะมีระบบการกรองถึง 9 ชั้นระดับนาโนเทคโนโลยี Wells ยังมีระบบทำน้ำร้อนและน้ำเย็นในตัว อีกทั้งยังไม่มีถังพักน้ำและติดตั้งง่าย สะดวกและปลอดภัยแน่นอน

เรามีทีมผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา ดูแลตั้งแต่ขั้นตอนการติดตั้ง การทดสอบ การใช้งาน ไปจนถึงการซ่อมบำรุงแบบครบวงจร สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เบอร์:  065-695-6525 หรือ 082-091-5552

LINE OA: @wellsthailand หรือ https://bit.ly/36pYHXp

อีเมล: info@wellsthailand.com

ข้อมูลอ้างอิง:

  1. ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเกิดภาวะน้ำเป็นพิษ ถึงตายจริงหรือ? สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://nutrition2.anamai.moph.go.th/th/rrhlnews/209505
  2. ทำไมน้ำประปาไทยถึง(ยัง)ดื่มไม่ได้ สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://prachatai.com/journal/2021/05/93256
  3. จริง ๆ แล้ว เราควรดื่มน้ำวันเท่าไหร่จึงจะมีประโยชน์? สืบค้นเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2567 จาก https://ch9airport.com/th/

บทความล่าสุด