ปัญหามลพิษทางอากาศมีผลกระทบกับสุขภาพจิตอย่างไร

มลพิษในเมืองที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

Table of Content:

ท่ามกลางความวุ่นวายของชีวิตในเมืองใหญ่ หลายคนอาจมองข้ามภัยเงียบที่คุกคามสุขภาพทั้งกายและใจอย่าง “มลพิษทางอากาศ” ไป โดยเฉพาะฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ที่อันตรายกว่าที่คิด เพราะนอกจากอากาศเสียจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพทั้งระบบทางเดินหายใจและระบบต่าง ๆ ของร่างกายแล้ว ยังมีงานวิจัยมากมายที่บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างมลพิษทางอากาศกับ “ปัญหาสุขภาพจิต” ด้วย

บทความนี้จึงขอพาทุกคนไปรู้จักกับผลกระทบของมลพิษทางอากาศต่อสุขภาพจิต ว่ามีอะไรบ้าง และนอกจากการใช้เครื่องกรองอากาศ ขนาดเล็ก ฟอกอากาศให้บริสุทธิ์ เราจะรับมือกับปัญหานี้ได้อย่างไร?

ผลวิจัยจากหลายสถาบันยืนยัน ว่ามลพิษทางอากาศและสุขภาพจิตเชื่อมโยงกันอย่างมีนัยสำคัญ!

หลายคนอาจไม่เคยรู้มาก่อนว่าอากาศที่หายใจเข้าไปทุกวินาที มีผลต่อสุขภาพจิตของเราด้วยเช่นกัน โดยงานวิจัยมากมายได้เปิดเผยความจริงอันน่าตกใจว่า ปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษอย่างฝุ่นละอองจิ๋ว PM 2.5 มีความเชื่อมโยงกับความเสี่ยงที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล โรคอัลไซเมอร์ โรคสมาธิสั้น ไปจนถึงปัญหาการนอนหลับ

เอียน มัดเวย์ นักวิชาการจากวิทยาลัยอิมพีเรียลลอนดอน ชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองมีโอกาสเกิดภาวะผิดปกติทางจิตประสาทและอารมณ์ (Mental Disorder) ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ Environmental Health Perspectives ที่ตีพิมพ์โดยมหาวิทยาลัย Harvard ที่ระบุว่า การสัมผัสกับ PM 2.5 จะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะซึมเศร้าถึง 10% โดยเฉพาะในผู้หญิง วัยผู้ใหญ่ และผู้ที่มีโรคประจำตัว

ยิ่งไปกว่านั้น งานวิจัยจากวารสาร Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology ยังยืนยันว่า มลพิษสามารถเข้าไปทำลายอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย โดยหลักฐานการวิจัยยังชี้ให้เห็นว่า ฝุ่นละอองขนาดเล็กมีความเกี่ยวพันกับการอักเสบภายในร่างกายและสร้างความเสียหายต่อโมเลกุลสมองด้วย

7 วิธีรับมือมลพิษทางอากาศ ที่ช่วยลดผลกระทบต่อสุขภาพจิต

เมื่อปัญหาฝุ่นหรือมลพิษทางอากาศไม่ได้เล็กสมชื่อ การตระหนักถึงปัญหาและหาแนวทางรับมือ เพื่อนำไปสู่การแก้ไขและป้องกันจึงมีความสำคัญ ซึ่งวิธีรับมือปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษทางอากาศที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพจิตนั้นก็มีอยู่ด้วยกันหลายวิธี ดังนี้

1. รู้ทันสัญญาณของความเครียด

ฝุ่น PM 2.5 เป็นปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษที่กระตุ้นให้ร่างกายหลั่งฮอร์โมนความเครียด ซึ่งส่งผลต่ออารมณ์ ความคิด และพฤติกรรม ดังนั้น จึงควรตรวจสอบสัญญาณของความเครียด เช่น หงุดหงิดง่าย อารมณ์แปรปรวน นอนหลับยาก ปวดหัว ปวดท้อง อ่อนเพลีย อยู่เสมอ โดยอาจใช้วิธีการสังเกตและจดบันทึกอาการต่าง ๆ เพื่อที่จะได้หาสาเหตุและวิธีจัดการที่เหมาะสม

2. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

เมื่อมลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อความเครียด การได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตจะมีประโยชน์อย่างมาก เพราะจะช่วยให้เราสามารถจัดการปัญหาและพัฒนาทักษะการรับมือความเครียดได้อย่างตรงจุด อีกทั้งการได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ จะช่วยให้เรารู้แนวทางเสริมสร้างสุขภาพจิตให้แข็งแรง เพื่อให้เราใช้ชีวิตท่ามกลางมลภาวะอย่างปลอดภัยและมีความสุข

นักจิตวิทยาให้คำปรึกษาแก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับปัญหาสุขภาพจิต

3.  ออกกำลังกายเป็นประจำ

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถลดความเครียดและกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งสารแห่งความสุขได้ ทั้งนี้ แนะนำให้เลือกประเภท ความหนักเบา และระยะเวลาที่เหมาะสม และต้องไม่ลืมเลือกสถานที่ที่อากาศปลอดโปร่งและมีมลภาวะน้อย ก็จะช่วยให้การออกกำลังกายมีประสิทธิภาพและปลอดภัยยิ่งขึ้น

4.  พักผ่อนให้เพียงพอ

การพักผ่อนให้เพียงพอเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้ร่างกายและจิตใจแข็งแรง พร้อมรับมือกับมลภาวะทางอากาศที่อาจส่งผลต่อความเครียด โดยควรเข้านอนและตื่นนอนเป็นเวลา และนอนให้ได้ 7-9 ชั่วโมงต่อวัน ที่สำคัญ ควรสร้างบรรยากาศในห้องนอนให้เงียบสงบ มืด และมีอุณหภูมิที่เย็นสบาย เพื่อให้เกิดความผ่อนคลายได้มากที่สุด

5. หมั่นตรวจเช็กคุณภาพอากาศในที่พักอาศัย

การตรวจเช็กคุณภาพอากาศเป็นประจำจะช่วยให้เรารู้เท่าทันสถานการณ์ และสามารถปรับตัวเพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพจิตได้ วิธีตรวจเช็กคุณภาพอากาศ แนะนำให้ติดตั้งเครื่องวัดค่าฝุ่น PM 2.5 เพื่อตรวจสอบค่าฝุ่นละอองในบ้านอย่างสม่ำเสมอ ไปจนถึงการติดตามข้อมูลคุณภาพอากาศจากหน่วยงานที่น่าเชื่อถือ เช่น กรมควบคุมมลพิษหรือ Air4thai เป็นต้น

6. ลดการสัมผัสกับมลภาวะ

ลดการสัมผัสกับมลภาวะ ก็เป็นอีกวิธีที่ช่วยลดความวิตกกังวลและทำให้มีสุขภาพจิตที่ดีขึ้นได้ โดยสามารถทำได้ผ่านการสวมหน้ากากอนามัยที่ช่วยกรองฝุ่น PM 2.5 โดยตรง และเมื่ออาศัยอยู่ในบ้าน ก็อย่าลืมปิดประตูหน้าต่างเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองที่อาจเล็ดลอดเข้ามาในบ้าน รวมถึงลดการทำกิจกรรมกลางแจ้งหรือเลือกช่วงเวลาที่ค่าฝุ่นละอองต่ำ นอกจากนี้ การเลือกใช้ยานพาหนะที่ปล่อยมลพิษน้อย เช่น รถไฟฟ้า หรือจักรยาน ก็จะช่วยลดมลภาวะได้อีกทางหนึ่ง

  

7.  ปรับคุณภาพอากาศในร่มด้วยเครื่องฟอกอากาศ PM 2.5

การใช้เครื่องฟอกอากาศ PM 2.5 เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการลดปริมาณฝุ่นละอองและปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษ เพราะนอกจากแผ่นกรองภายในจะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคทางเดินหายใจต่าง ๆ แล้ว การมีอากาศบริสุทธิ์ภายในที่พักอาศัย ยังจะส่งผลให้รู้สึกผ่อนคลาย จนป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาทางสุขภาพจิตได้

มลพิษทางอากาศ โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงจากมลพิษที่มีผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต สำหรับใครที่กำลังมองหาเครื่องฟอกอากาศเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองในบ้าน เครื่องกรองอากาศขนาดเล็กจาก Wells แบรนด์เครื่องใช้เพื่อสุขภาพจากประเทศเกาหลีใต้ ถือว่าตอบโจทย์เรื่องนี้ได้อย่างลงตัว เพราะนอกจากจะช่วยกรองอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เครื่องฟอกอากาศจาก Wells ยังมีดีไซน์ที่สวยงามทันสมัย ตอบโจทย์ทุกการใช้งานและไลฟ์สไตล์ของคุณได้อย่างครอบคลุม 

สนใจเครื่องฟอกอากาศจาก Wells สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่

เบอร์: 092-239-2969 หรือ 065-695-6525

LINE OA: @wellsthailand หรือ https://bit.ly/36pYHXp

อีเมล: info@wellsthailand.com 

ข้อมูลอ้างอิง

  1. มลพิษทางอากาศมีผลต่อโรคซึมเศร้า และการเสียชีวิตก่อนวัยอันควร สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567
  2. มลพิษทางอากาศทำให้พฤติกรรมก้าวร้าวรุนแรง-อาชญากรรมพุ่งสูง สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567
  3. วิธีการรับมือกับความเครียดจากปัญหาฝุ่น PM2.5 สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2567
  4. วารสาร Social Psychiatry and Psychiatric Epidemiology. (2564). มลพิษทางอากาศทำลายอวัยวะได้ทุกส่วนของร่างกาย. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2567

บทความล่าสุด